Search
Close this search box.

ประวัติโรงเรียนโรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ)

ประวัติโดยย่อ

 

โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  
มีเนื้อที่ 38  ไร่ 2 งาน  12 ตารางวา เดิมชื่อโรงเรียนบ้านสิ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2466 ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลสิ 1 (วัดบ้านจะเนียว) สมัยหลวงวัฒโนบล เป็นนายอำเภอขุนหาญ ครูใหญ่คนแรกชื่อ นายนุช  ธรรมปัญญา มีการจัดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงช้้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464  สถานที่เรียนใช้ศาลาวัดบ้านสิเป็นอาคารเรียน
ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านสิได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนสหวิทยาเขตเครือข่ายอนุบาล และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ)” ตามหนังสือเลขที่ ศธ 1159.07/2369 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2543 และประกาศของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2543
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ) ได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการ “1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน” ตามนโยบายมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2546
ปีการศึกษา 2549 ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์ปฐมวัยต้นแบบประจำอำเภอ

มีเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน ได้แก่
– หมู่ 1 บ้านสิ
– หมู่ 3 บ้านหนองแคน
– หมู่ 9 บ้านโนน
– หมู่ 11 บ้านโนนสีทอง
– หมู่ 14 บ้านศาลา

Vision

วิสัยทัศน์

“โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่สากล ”

Mission

พันธกิจ

1.พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานชาติ พร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรม รักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นสำนึกในความเป็นชาติไทย และมีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองที่ยั่งยืน
5. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง

Goal

เป้าหมาย

ด้านผู้เรียน
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็นทุกคน
3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอบวัดความรู้ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่6และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ด้านคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
2.ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ด้านคุณภาพบริหารการจัดการ
โรงเรียนจัดกิจกรรมได้ครอบคลุมทุกมาตรฐานและทุกตัวบ่งชี้ มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และผ่านการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก

Core Values

ค่านิยมหลัก

ค่านิยมหลัก 12 ประการ

Identity

อัตลักษณ์

“เด็กดี วิชาการเยี่ยม”

Unique

เอกลักษณ์

“1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ”

Slogan

คำขวัญ

“เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม”

Philosophy

ปรัชญา

“นตฺถิ  ปญฺญา  สมา  อาภา” แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี





Scroll to Top