ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนบ้านสิ
 
          โรงเรียนบ้านสิ  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๖  ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลสิ (วัดบ้านจะเนียว)  ก่อตั้งขึ้นโดยนายอำเภอ  ชื่อว่า  หลวงวัฒโนบล  ศึกษาธิการอำเภอ  นายเพ็ง  ทองพันธ์ มีนายนุช  ธรรมปัญญา  เป็นครูใหญ่
          ๒๗  มีนาคม  ๒๔๖๘    นายนุช  ธรรมปัญญา     ครูใหญ่ ย้าย  นายบุญศรี  สุวรรณผล    มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๒๐  ตุลาคม  ๒๔๖๙     นายบุญศรี  สุวรรณผล   ออกจากราชการ นายสังข์  ณ วารินทร์     มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          พ.ศ. ๒๔๖๙                นายสังข์  ณ วารินทร์      ย้าย นายปรางค์  สุวรรณโชติ   มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          พ.ศ. ๒๔๗๑                นายปรางค์  สุวรรณโชติ  ย้าย นายโหง่น  อรจันทร์       มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          พ.ศ. ๒๔๗๓                นายโหง่น  อรจันทร์       ย้าย นายฮั่วะ  ปลั่งแดง         มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          พ.ศ. ๒๔๗๕                ยุบโรงเรียนประชาบาลตำบลสิ ๑ (วัดบ้านจะเนียว) เป็นโรงเรียนประชาบาลตำบลสิ ๑ (วัดบ้านสิ)
                                            นายฮั่วะ  ปลั่งแดง          ย้าย  นายจร  เสนาเกต  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๑๕  มิถุนายน  ๒๔๘๐    นายจร  เสนาเกต          ย้าย  นายบุญ พรหมวงศานนท์  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่  ได้จับจองที่ดิน ๑ แปลง  จำนวน ๔๐ ไร่เศษ (เป็นที่ตั้งโรงเรียนบ้านสิ ในปัจจุบัน)  ได้ขอไม้จากชาวบ้าน  และเงินบริจาคสมทบ  จำนวน  ๑,๐๐๐ บาท  ได้ปลูกสร้างอาคารเรียน ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๗ เมตร  แบบ ป.๑ ซ  จึงได้ย้ายที่เรียนจากศาลาวัดบ้านสิ  มาเรียนอยู่อาคารเอกเทศ
          ๑๓  ธันวาคม ๒๔๘๔      นายบุญ พรหมวงศานนท์  ได้โอนไปเป็นครูใหญ่ จังหวัดจำปาศักดิ์  
                                              นายสนธิ  อินทโร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๒๔  ธันวาคม ๒๔๘๕     เวลา ๑๒.๐๐ น.  อาคารเรียนถูกไฟป่าไหม้เสียหายหมด                     
                                             นายสุวิทย์  ศิริกุล  นายอำเภอขุขันธ์  ให้ย้ายไปเรียนที่ศาลาวัดบ้านสิตามเดิม
          พ.ศ. ๒๔๘๗                 นายสนธิ  อินทโร          ย้าย  นายทูล  วรรณทอง   มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          พ.ศ. ๒๔๘๙                  นายทูล  วรรณทอง       ย้าย  นายบุญ พรหมวงศานนท์  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๑  ตุลาคม ๒๔๙๑          นายบุญ พรหมวงศานนท์  และคณะครู ได้หาไม้มาปลูกสร้างอาคารเรียนในที่ดินของโรงเรียนอีก (ที่ดินปัจจุบัน) 
          พ.ศ. ๒๔๙๗                  นายพยนต์  ประทินดา  นายอำเภอขุขันธ์  ได้ให้ปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในที่ดินที่ราชพัสดุ (ปัจจุบันคือที่ตั้งการประปาส่วนภูมิภาค)  ใกล้กับที่ว่าการอำเภอขุนหาญ  ยุบโรงเรียนบ้านดานมาเรียนกับโรงเรียนบ้านสิ  และได้เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๘
          พ.ศ. ๒๔๙๘                  นายบุญ พรหมวงศานนท์  ย้าย  นายเผดิม  ทองละมุล  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๙  พฤษภาคม ๒๕๐๑     ได้แยกเด็กบ้านโนนสูง ไปเรียนที่โรงเรียนบ้านโนนสูง
          ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๑   นายเผดิม  ทองละมุล      ย้าย  นายบุญ พรหมวงศานนท์  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๐๒     ได้แยกเด็กบ้านดาน ไปเรียนที่โรงเรียนบ้านดาน
          พ.ศ. ๒๕๐๔                   นายบุญ พรหมวงศานนท์  พร้อมด้วยชาวบ้านศรีขุนหาญ  ร่วมกันเสียสละไม้ช่วยกันสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง  ขนาด กว้าง ๙ เมตร  ยาว ๒๗ เมตร  ชั้นเดียว  สิ้นเงิน ๑๐,๔๔๖ บาท  (หนึ่งหมื่นสีร้อยสี่สิบหกบาท)
          พ.ศ. ๒๕๐๙                   ได้รับงบประมาณจำนวน  ๑๘๐,๐๐๐  บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)  ได้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ฉ  ๖ ห้องเรียน  ขนาดกว้าง ๘.๕๐ เมตร  ยาว ๕๔ เมตร  ชั้นเดียว  ในที่ดินของโรงเรียน (ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน)
          ๑๙ มกราคม ๒๕๑๐      ได้แยกนักเรียนจากโรงเรียนบ้านสิเดิม (ที่ตั้งที่ราชพัสดุ ปัจจุบันคือการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอขุนหาญ)  จำนวน ๑๐ ห้องเรียน  มาเรียนที่โรงเรียนบ้านสิ (ที่ตั้งปัจจุบัน)  คงเหลือไว้เรียนที่เดิม ๘ ห้องเรียน
          ๒๗  พฤษภาคม ๒๕๑๑    ได้แยกเด็กบ้านศิวาลัยไปเรียนที่โรงเรียนบ้านศิวาลัย จำนวน ๑๖๐ คน  ครู ๓ คน
          ๓  มิถุนายน  ๒๕๑๒         ได้แยกเด็กบ้านศรีขุนหาญ  ไปเรียนที่โรงเรียนบ้านศรีขุนหาญ (โรงเรียนบ้าน สิริขุนหาญ) จำนวน ๑๕๐ คน  ครู ๕ คน  คงเหลือครู ๑๒ คน  นักเรียน  ๓๖๔  คน
          พ.ศ. ๒๕๑๒                    ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ซ   ๒ ชั้น  ๓ ห้องเรียน  งบประมาณ ๙๐,๐๐๐ บาท  (เก้าหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. ๒๕๑๕                    เปิดสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ป.๕
          ๓  ตุลาคม  ๒๕๑๖           นายบุญ  พรหมวงศานนท์  ลาออกจากราชการ  นายดวน  ขอร่ม           มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
          ๓  มิถุนายน  ๒๕๑๖        โรงเรียนชนะเลิศการประกวดโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย   ส่วนอำเภอขุนหาญ
          พ.ศ.  ๒๕๑๗                  ได้งบประมาณก่อสร้างส้วม ๕ ที่นั่ง ๑ ที่ปัสสาวะ  งบประมาณ  ๑๒,๐๐๐ บาท  
          พ.ศ.  ๒๕๑๘                  ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ศก.๐๔  ขนาด ๓ ห้องเรียน  กว้าง ๘.๕๐ เมตร  ยาว ๒๗ เมตร  งบประมาณ ๑๘๐,๐๐๐  บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ.  ๒๕๒๑                   ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ศก.๐๔  ขนาด  ๘  ห้องเรียน  งบประมาณ  ๒๔๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ.  ๒๕๒๕                    นายดวน ขอร่ม            ไปดำรงตำแหน่ง หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ
                                                 นายสุข  ชูกำแพง          รักษาราชการแทน อาจารย์ใหญ่
          พ.ศ.  ๒๕๒๕                    นายวีระ  จันทรา          มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
          พ.ศ.  ๒๕๒๖                    นายวีระ  จันทรา          ไปดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์
                                                 นายประเสริฐ  ศรีมงคล   มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่   ได้นำชาวบ้านจัดหาเงินสร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้า ยาว ๑๑๓ เมตร  สิ้นเงิน  ๕๔,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นสีพันบาทถ้วน)
          ๒๒  กรกฎาคม  ๒๕๓๐      นายประเสริฐ  ศรีมงคล   ย้ายไปดำรงตำแหน่งโรงเรียนบ้านห้วยจันทร์
                                                 นายศศิโรจน์  สมจันทร์   มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
          ๑๙  กันยายน  ๒๕๓๒        นายดวน  ขอร่ม   หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอขุนหาญ  ได้ย้ายสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอขุนหาญ  มาอยู่ที่โรงเรียนบ้านสิ  ได้ปรับปรุงอาคารเรียน  แบบ ป.๑ ซ   เป็นสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอขุนหาญ
          ๑๘  พฤษภาคม  ๒๕๓๓    นายศรชัย  จันทรชิต      หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอขุนหาญ  ได้ย้ายสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ  กลับไปอยู่ที่เดิม (ที่ตั้งใกล้กับที่ว่าการอำเภอขุนหาญเดิม)
          ๑๗  พฤษภาคม  ๒๕๓๗   นายศศิโรจน์  สมจันทร์   ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดู่
                                                 นายณรงค์  จำปา          มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
          ๑  เมษายน  ๒๕๓๘          ได้สร้างรั้วคอนกรีตหน้าโรงเรียน ด้านทิศตะวันตก  ยาว ๓๒ เมตร ช้เงินกองทุนพัฒนาโรงเรียน  จำนวน ๑๒,๐๙๐ บาท(หนึ่งหมื่นสองพันเก้าสิบบาทถ้วน)  นางวาสนา  ชื่นตา  ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่บริจาคค่าเหล็กดัด  จำนวน ๑๒,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)
          ๒๑  มิถุนายน  ๒๕๓๘       ทำร่องระบายน้ำคอนกรีตตามแนวถนนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ใช้งบบริจาคจาก บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าด์ จำกัด  จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)  จากงบเงินกองทุนพัฒนาโรงเรียน จำนวน ๑๗,๖๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน)
          ๑  มกราคม  ๒๕๓๑           จัดสร้างที่แปรงฟันให้นักเรียน มีก๊อกน้ำ จำนวน ๒๐ ที่ ใช้งบประมาณ ๓๒,๖๐๕ บาท(สามหมื่นสองพันหกร้อยห้าบาทถ้วน)
          ๑  พฤษภาคม  ๒๕๓๙        ได้รับอนุมัติให้เปิดขยายโอกาส ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.๑-๓
          ปีงบประมาณ ๒๕๔๒          ได้รับจัดสรรอาคารเรียน แบบ สปช ๑๐๕/๒๙  ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง  ราคา  ๑,๘๓๖,๐๐๐  บาท(หนึ่งล้านแปดแสนสามหมื่นหกพันบาทถ้วน) ได้รับการจัดสรรงบประมาณสร้างสนามบาสเกตบอล  ราคา  ๒๓๒,๕๐๐ บาท(สองแสนสามหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
          ปี  ๒๕๔๓                        โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนสหวิทยาเขตเครือข่ายอนุบาลศรีสะเกษ   ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา  จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบ้านสิ เป็นโรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ)     ตามประกาศคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ  ลงวันที่  ๗ สิงหาคม ๒๕๔๓
          ปี  ๒๕๔๖                        โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ)  ได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการ “๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน”  ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๖ 
          ปี  ๒๕๔๗                        โรงเรียนได้ให้ นายวันชัย บุญทอง  ผู้ตรวจการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔   แต่งเพลงมาร์ชโรงเรียนขึ้น เป็นครั้งแรก
          ปี ๒๕๔๗                        ได้สร้างโรงอาหาร  ขนาด ๑๗ เมตร  ยาว ๔๕ เมตร  โดยใช้เงินจากการจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา  ฉลองครบรอบ ๘๐ ปี    เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๖  ใช้เงินทั้งสิ้น  ๗๐๐,๐๐๐  บาท (เจ็ดแสน บาทถ้วน)  และได้ต่อเติมยื่นไปทางทิศตะวันออกอีก ๕ เมตร  ไว้เป็นที่ขายอาหารและที่ประกอบอาหาร  ใช้งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน)  เดินระบบสายไฟ  ติดพัดลมใช้งบประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท(สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  รวมทั้งสิ้น ๗๘๕,๐๐๐ บาท(เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)ได้ทำพิธีเปิดป้ายในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ 
          ปี  ๒๕๔๘                       โรงเรียนได้รับงบประมาณจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME BANK)  สร้างห้องสมุดเอกเทศ  พร้อมอุปกรณ์  ครุภัณฑ์ห้องสมุด  หนังสือ  คอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๐ เครื่อง  ติดแอร์ ๘ ตัว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๕๘๘,๔๔๘ บาท (สองล้านห้าแสนแปดหมื่นแปดพันสี่ร้อยสี่สิบแปดบาทถ้วน)
          ๑๖  มีนาคม  ๒๕๔๘      โรงเรียนได้รับโล่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ “๑ อำเภอ ๑  โรงเรียนในฝัน” จาก นายทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี
          ปี  พ.ศ. ๒๕๔๙               โรงเรียนได้รับงบประมาณจัดสรรสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. ๑๐๕/๒๖  ขนาด ๔ ห้องเรียน  ราคา ๒,๐๕๑,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)  และได้ต่อเติมชั้นล่างเป็นห้องประชุม ห้องอำนวยการ จากเงินผ้าป่าโรงเรียน
          ปี พ.ศ. ๒๕๕๓                โรงเรียนได้รับงบประมาณ จัดสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. ๑๐๕/๒๙  ขนาด ๔ ห้องเรียน  ราคา ๒,๑๔๐,๐๐๐ บาท (สองล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)  และได้ งบต่อเติมชั้นล่างปรับปรุง ใช้เป็นห้องเรียนพิเศษ (MSEP)
          ปี พ.ศ. ๒๕๕๕                โรงเรียนได้รับงบประมาณจัดสรรสร้างอาคารเรียน (งบแปรญัตติ ส.ส.ธีระ  ไตรสรณกุล)  ให้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๒/๒๙  ขนาด ๓ ห้องเรียน จำนวน ๒ หลัง ราคาหลังละ ๑,๒๔๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)  รวมเป็นเงิน ๒,๔๘๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน)  และได้ต่อเติมห้องเรียนเพิ่มอีก จำนวน ๒ ห้องเรียน  ต่อเติมด้านหลัง ปรับปรุงเป็นห้องน้ำ ห้องส้วม  ห้องอาบน้ำ ที่แปรงฟัน ต่อเติมด้านหน้าเป็นที่ทำกิจกรรม  ด้วยเงินผ้าป่าและเงินบริจาค รวมเป็นเงินที่ใช้ปรับปรุงทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท  (หนึ่งล้านบาทถ้วน)   ใช้เป็นอาคารเรียนระดับปฐมวัย
          ปี พ.ศ. ๒๕๕๗                  โรงเรียนได้รับงบประมาณจัดสรรสร้างอาคารเรียน แบบ ๓๑๘ล/๕๕-ก   เป็นงบผูกพัน  ราคา  ๒๑,๗๑๖,๐๐๐ บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน)  และได้เปิดใช้ วันที่  ๑๖  พฤษภาคม  ๒๕๕๙
          ปี พ.ศ. ๒๕๖๑                   คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู  ผู้ปกครองนักเรียน ได้ร่วมกันจัดหารายได้ สร้างศาลาทรงไทย  หน้าห้องสมุด  เพื่อเป็นอนุสรณ์ นายณรงค์ จำปา  ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ  30 กันยายน 2561  รวมเป็นเงิน...............................บาท